สารพันเรื่องงานทาง
- เรื่องเด่นวารสารทางหลวง
- คลื่นลูกใหม่
- ท่องเที่ยวกับผู้อำนวยการแขวงฯ
- ตามรอยพ่อ
- ทางหลวงเพื่อประชาชน
- สารพันงานทาง
- สีสันคนทำทาง
- องค์ความรู้คู่ชาวทาง
- ก้าวไปกับสหกรณ์
- ท่องเที่ยวต่างแดน
- จากวันนั้นถึงวันนี้
- ปกิณกะน่ารู้
- ทางหลวงทางธรรม
- ทางหลวงพาชิม
- ทางหลวงชวนช้อป
- ทางหลวงชวนอ่าน
- ห้องครัวทางหลวง
- ความรู้คู่รถ
- สาระน่ารู้ สุขภาพ
- ทางหลวงทันโลก
- ซุปตาร์พาชิล
- อยู่สบายสไตล์ชาวทาง
- สังคมชมรมบำนาญ
- เรืื่องสั้นคนทำทาง
- เช็คชะตาราศี
- งานทางตูน
- ติดต่อเรา
Home
สารพันงานทาง
โครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย


โครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย

๙๙ ปี กรมทางหลวง กับ การพัฒนาทางหลวงระหว่างประเทศ “ทางหลวงเอเชียเป็นร่มเงา”
ปี ๒๕๕๔ – ๙๙ สู่ ๑oo ปีกรมทางหลวง เป็นโอกาสดีที่ฉันอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทางหลวงระหว่างประเทศ ให้ชาวทางได้รู้ว่าเราได้มีการให้ความร่วมมือในการพัฒนามาช้านานเช่นกัน ถึงแม้สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศเพิ่งคลอดอย่างเป็นทางการในปี 2553 นี้เอง ก็กะว่าจะเขียนเป็นซีรี่ส์ต่อเนื่องกัน ดั่งละครฮิตติดชาร์จ “สี่หัวใจแห่งขุนเขา” อะไรทำนองนั้น สำหรับภาคงานทางนี้ขอนำเสนอ... ตอนแรก-ทางหลวงเอเชียเป็นร่มเงา ตอนที่สอง-อาเซียนเชื่อมโยงสร้างสรรค์ ตอนที่สาม-GMSเสริมระเบียงเศรษฐกิจ และตอนที่สี่อาจเป็น IMT-GT ช่วยภาคใต้ อันที่จริงกรอบความร่วมมือในการพัฒนาทางหลวงระหว่างประเทศนั้นมีมากกว่าสี่ ฉันตั้งใจว่าจะพยายามนำเสนอเรื่องที่จะทำให้ชาวทางได้ภาคภูมิใจถึงผลงาน ของกรมทางหลวงในเวทีระหว่างประเทศที่ฉันได้ร่วมประชุมเจรจา ต่อรอง รวมทั้งผลักดันการดำเนินงานต่างๆ ร่วมกับท่านผู้บริหารของกรมทางฯ มาหลายยุคหลายสมัย
ในบทเริ่มแรกนี้ จะเปิดตัวด้วยเรื่อง “ทางหลวงเอเชียเป็นร่มเงา” หรือโครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย ซึ่งเป็นโครงการที่มีมิติการพัฒนาระดับภูมิภาค ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ที่ครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเชื่อมโยงกับทวีปยุโรป จึงเปรียบเสมือนเป็นร่มเงา หรือกรอบการพัฒนาทางหลวงใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ โดยเพิ่งมีการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของการพัฒนาทางหลวงเอเชียนี้ ไปเมื่อปี 2553 นี่เอง
ความเป็นมา
โครงการ ทางหลวงเอเชียมีแนวคิดริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2502 โดย คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย การอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยว
ความ ก้าวหน้าของโครงการในระยะที่ 1 (พ.ศ.2503-2513) เป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ความช่วยเหลือทางการเงินได้ถูกระงับลงในปี พ.ศ.2518 ทำให้โครงการไม่มีความคืบหน้ามากนัก ต่อมาช่วงต้นทศวรรษ ปี พ.ศ.2530 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาด้านการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ESCAP จึงได้อนุมัติโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบกแห่งภูมิภาคเอเชีย (Asian Land Transport Infrastructure Development: ALTID) ในปี พ.ศ.2535 ซึ่งประกอบด้วย โครงการทางหลวงเอเชีย โครงการทางรถไฟสายเอเชีย และโครงการอำนวยความสะดวกการขนส่งทางบก โดยกำหนดให้เป็นโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงในการพัฒนาระยะที่ 2 (พ.ศ.2535-2539)
การพัฒนาทางหลวงเอเชียในประเทศไทย
ประเทศ ไทยได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาทางหลวงเอเชียอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด ความก้าวหน้าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา (พ.ศ.2540-2554) การดำเนินงานได้สัมฤทธิ์ผลทั้งในด้านการวางโครงข่ายทางหลวงเอเชีย การกำหนดมาตรฐานทางหลวงเอเชีย และการติดตั้งป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย ทั้งนี้ โดยมีนายสุนันท์ เกลี้ยงประดิษฐ์ และนายอัศวิน กรรณสูต เป็นผู้แทนสำคัญในการร่วมประชุมเจรจาและพิจารณาอยู่ด้วย ประเทศไทยโดยกรมทางหลวงได้ดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นอย่างสอดคล้องกับความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทาง หลวงเอเชีย ซึ่งได้มีการลงนามในปี 2547 แล้ว
กรม ทางหลวงได้เสนอทางหลวงในประเทศให้รวมอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชียโดยใช้หลัก เกณฑ์การคัดเลือกเส้นทางภายใต้โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบก แห่งภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ เส้นทางที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 หลักเกณฑ์
1. เส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงกับเมืองหลวงสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ
2. เส้นทางเชื่อมโยงสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
3. เส้นทางเชื่อมโยงสู่ท่าเรือหลักที่สำคัญ
4. เส้นทางเชื่อมโยงสู่สถานีขนถ่ายสินค้าหลักที่สำคัญ

โครงข่ายทางหลวงเอเชียในประเทศไทย
ทาง หลวงเอเชียในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ทางหลวงเอเชียสายหลัก ได้แก่ AH 1, AH 2 และ AH 3 และทางหลวงเอเชียสายรอง ได้แก่ AH 12, AH 13, AH 15, AH 16,
AH 18 และ AH 19 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 5,129 กิโลเมตร (ไม่รวมช่วงของสาย AH 1 และ AH 2 ที่ทับกันช่วงจังหวัดตาก ถึงแยกบางปะอิน ระยะทาง 370 กิโลเมตร) จากการที่ได้ปรับปรุงฐานขัอมูลทางหลวงอาเซียน (ซึ่งจะนำเสนอในโอกาสต่อไป) ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้รายละเอียดสายทางของทางหลวงเอเชียล่าสุด มีดังต่อไปนี้
1. ทางหลวงเอเชียสาย AH 1: ชายแดนกัมพูชา – อรัญประเทศ - กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) –นครสวรรค์ – ตาก – แม่สอด – สะพานมิตรภาพไทย – พม่า รวม 715.5 กม.
2. ทางหลวงเอเชียสาย AH 2: ด่านจังโหลน - อ.สะเดา – หาดใหญ่ – พัทลุง – ชุมพร – ประจวบคีรีขันธ์ – ปากท่อ - กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) – นครสวรรค์ – ตาก – ลำปาง – เชียงราย – แม่สาย (ชายแดนพม่า) รวม 1,913.5 กม.
3. ทางหลวงเอเชียสาย AH 3: เชียงราย – เชียงของ (ชายแดนลาว – จีน) รวม 121 กม.
4. ทางหลวงเอเชียสาย AH 12: สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – หนองคาย – นครราชสีมา – ขอนแก่น – สระบุรี – กรุงเทพฯ (แยกหินกอง) รวม 571.3 กม.
5. ทางหลวงเอเชียสาย AH 13: ห้วยโก๋น – น่าน – แพร่ – พิษณุโลก – นครสวรรค์ รวม 550.5 กม.
6. ทางหลวงเอเชียสาย AH 15: ชายแดนไทย-ลาว (นครพนม) – อุดรธานี รวม 248.6 กม.
7. ทางหลวงเอเชียสาย AH 16: ชายแดนไทย-ลาว (มุกดาหาร) – กาฬสินธุ์ – ขอนแก่น – พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก รวม 703.4 กม.
8. ทางหลวงเอเชียสาย AH 18: ชายแดนมาเลเซีย (อ.สุไหงโกลก) – อ.ตากใบ – นราธิวาส – ปัตตานี – อ.หนองจิก – อ.จะนะ – หาดใหญ่ รวม 311 กม.
9. ทางหลวงเอเชียสาย AH 19: นครราชสีมา – กบินทร์บุรี – อ.แปลงยาว – แหลมฉบัง – กรุงเทพฯ รวม 364 กม.
ทางหลวงเอเชียสาย AH-16 และ AH-19 เป็นเส้นทางใหม่ที่ประเทศไทยได้เสนอต่อที่ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการ พัฒนาโครงข่ายทางหลวงเอเชีย เมื่อวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2545 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ รวมทั้งได้เสนอปรับแนวเส้นทาง AH-2 และ AH-1 จากแยกบางปะอิน – กรุงเทพฯ ให้มาใช้ทางหลวงหมายเลข 9 แทน และปรับแนวเส้นทาง AH-3 จากเชียงราย – เชียงของ โดยแทนทางหลวงหมายเลข 1020 เดิมด้วยทางหลวงหมายเลข 1152 ช่วงจาก บ.หัวดอย – บ.ต้าตลาด ส่วนเส้นทาง AH-13 ได้เพิ่มเข้ามาในโครงข่ายทางหลวงเอเชียภายหลัง
หัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงความตกลงฯ ที่สำคัญของการดำเนินโครงการพัฒนาทางหลวงเอเชีย เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ภาคีสมาชิกของโครงการนี้บรรลุข้อตกลงกันได้ในรอบ เกือบครึ่งศตวรรษ นั่นคือ...ความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทางหลวงเอเชีย

ประเทศ ไทยได้ลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทางหลวงเอเชีย (Intergovernmental Agreement on The Asian Highway Network Development) ในคราวประชุมคณะกรรมาธิการของเอสแคป สมัยที่ 60 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2547 ณ นครเซี่ยงไฮ้ และได้ให้สัตยาบันแล้วเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2549
วัตถุ ประสงค์หลักในการจัดทำความตกลงฯ ของ UNESCAP เพื่อสนับสนุนแผนการดำเนินงานด้านการจัดการตามกระแสโลกาภิวัตน์สำหรับ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบกแห่งภูมิภาคเอเชีย ความตกลงฯ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ
1) ตัวบทความตกลง 19 ข้อ
2) รายชื่อเส้นทางทางหลวงเอเชีย
3) ภาคผนวก 1: โครงข่ายทางหลวงเอเชีย
4) ภาคผนวก 2: มาตรฐานการออกแบบและการแบ่งประเภททางหลวงเอเชีย
5) ภาคผนวก 3: การระบุเส้นทางและป้ายสัญลักษณ์ของโครงข่ายทางหลวงเอเชีย
โครงข่ายทางหลวงเอเชีย ในภาคผนวก 1 ประกอบด้วยเส้นทางใน 32 รัฐสมาชิก (ในเวทีสหประชาชาติ นิยมใช้คำว่า ‘รัฐ’ แทน ‘ประเทศ’) ระยะทางของทางหลวงเอเชีย มีรวมทั้งสิ้นประมาณ 141,105 กิโลเมตร โดยเป็นระยะทางในประเทศไทย 5,129 กม. ดังที่กล่าวมาแล้ว
มาตรฐาน การออกแบบและการแบ่งประเภททางหลวงเอเชีย ในภาคผนวก 2 สามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า มาตรฐานทางหลวงเอเชียแบ่งเป็น 4 ประเภทชั้นทาง คือ ชั้นพิเศษ ชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 ดังแสดงในตารางข้างล่าง
ตาราง มาตรฐานทางหลวงเอเชีย

การติดตั้งป้ายเครื่องหมายจราจร ภาคผนวก 3 แนบท้ายความตกลงฯ ได้กำหนดเป็นหลักการกว้างๆ ในเรื่องการระบุเส้นทางและป้ายสัญลักษณ์ของโครงข่ายทางหลวงเอเชีย โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ง่าย เป็นป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีข้อความสีขาวหรือสีดำ และใช้อักษร AH ตามด้วยตัวเลขอารบิกของหมายเลขทางหลวงเอเชีย การติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงป้ายเครื่องหมายจราจรของทางหลวงเอเชียในรัฐสมาชิก จะต้องดำเนินการภายใน 5 ปี นับจากวันที่ความตกลงฯ นี้ มีผลบังคับใช้ สำหรับประเทศไทยต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงและติดตั้งป้ายหมายเลขทางหลวง เอเชียภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2554
จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยโดยกรมทางหลวงได้ปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงระหว่างรัฐบาลว่า ด้วยโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ได้บรรลุผลทั้งหมด ได้แก่ การวางโครงข่ายทางหลวงเอเชีย การพัฒนาทางหลวงเอเชียให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำของมาตรฐานทางหลวงงเอเชีย และการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งป้ายหมายเลขทางงหลวงเอเชีย การพัฒนาทางหลวงเอเชียในประเทศไทยในอนาคตจึงขึ้นอยู่กับอุปสงค์การคมนาคมขน ส่ง ตลอดจนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาทางหลวงระหว่างประเทศ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางหลวงอย่างต่อ เนื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางหลวงในกรอบความร่วมมือหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น อาเซียน (ASEAN) กรอบความร่วมมือเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Economic Cooperation: GMS) ต่างก็มียุทธศาสตร์ที่สอดประสานและเสริมสร้างกัน และแน่นอนภายใต้ร่มเงาของสหประชาชาติ ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป

จาก : วารสารทางหลวง ปีที่ 48 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน 2554
HostGator is one of the best hosting providers, read our HostGator Review and also take a look to joomla hosting companies.